ฟันปลอมชนิดติดแน่น
คลินิกทันตกรรมทูธเดย์ (สาขาจอหอ / สาขาหัวทะเล)
ฟันปลอมชนิดติดแน่น
แบ่งตามหน้าที่ได้ 2 แบบ คือใช้ทดแทนฟันที่หายไป
ฟันปลอมติดแน่นที่ทำหน้าที่นี้คือ “สะพานฟัน” และ “รากเทียม”
เหมาะสำหรับคนที่รำคาญ ไม่อยากต้องมาคอยถอดใส่ฟันปลอมทุกๆวัน แต่ถึงแม้ว่าทั้งคู่จะทำหน้าที่เดียวกัน แต่วิธีการ การดูแลและระยะเวลาในการทำไม่ได้เหมือนกันเลย
สะพานฟัน
ชื่อก็บอกว่าสะพาน เพราะฉะนั้น ต้องมีหัวสะพาน และตัวสะพานที่ห้อยต่องแต่ง ดังนั้น การทำสะพานฟันจะใช้วิธีการกรอฟันซี่ที่อยู่ข้างๆช่องว่าง ให้เป็นแกนเหมือนเป็นหัวสะพาน แล้วใส่ครอบฟันที่เชื่อมติดกัน 3 ซี่ ลงบนหัวสะพานทั้ง 2 ข้าง (ซี่ตรงกลางก็จะลอยอยู่ระหว่างหัวสะพานทั้ง 2 ข้าง)
ข้อดี
ก็คือใช้ปิดช่องว่างได้ ราคาเบากว่ารากเทียม(เล็กน้อย)
ข้อเสีย
ต้องกรอเนื้อฟันข้างๆทิ้ง เพื่อทำเป็นหัวสะพาน ดูแลรักษายาก ต้องทำความสะอาดได้ดีมากๆ โดยเฉพาะขอบของตัวครอบที่สวมลงบนหัวสะพาน และใต้ตัวสะพาน ถ้าฟันซี่ที่เป็นหัวสะพานต้องถอน คือต้องทำใหม่หมดเลย
บางบริเวณก็ไม่สามารถทำได้ เช่น ฟันเขี้ยว ไม่สามารถใส่ในกรณีที่ฟันหายหลายซี่ต่อๆกันได้ (ตัวสะพานยาวมากไม่ได้) ถ้าไม่มีฟันจะทำเป็นหัวสะพาน ก็ทำสะพานฟันไม่ได้
เนื่องจากข้อเสียเยอะมาก ทุกวันนี้ เลยไม่ค่อยเป็นที่นิยมกันเเล้ว (เว้นแต่ว่า ฟันทั้ง 2 ข้างของช่องว่างจำเป็นต้องทำครอบฟันอยู่เเล้ว ก็ยังพอไหว)
รากเทียม (implant)
เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากช่วงหลังๆ ราคาจับต้องได้ และคุณสมบัติดีกว่าการใช้สะพานฟัน (ในราคาที่สูงกว่าเล็กน้อย) โดยเราจะทำการฝังตัวรากฟันลงไปในกระดูก (นึกภาพคล้ายๆกับขันน็อตลงไป) จากนั้นรอแผลหาย และตัวรากฟันเทียมเชื่อมกับกระดูกเราเเล้ว ก็จะมาใส่ตัวฟันข้างบน เป็นอันเสร็จ
ข้อดี
1.สามารถทดแทนฟันได้ หายตรงไหน ปักตรงนั้น (แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่บ้าง)
2.สามารถใช้ร่วมกับฟันปลอมแบบถอดได้ได้ด้วย เช่น ทำเป็นหลักยึด (กรณีฟันหายหลายๆซี่ แต่ไม่อยากปักรากเทียมหลายๆตัว)
3.ดูแลทำความสะอาดได้ง่ายกว่าสะพานฟัน
4.เคี้ยวอาหารได้(เกือบ)เหมือนฟันจริงๆ
ข้อเสีย
1.ราคาสูง เมื่อเทียบกับฟันปลอมชนิดอื่นๆ
2.มีเงื่อนไขค่อนข้างเยอะ เช่น สภาพกระดูกที่จะปักลงไป สภาพร่างกายคนไข้เอง เนื่องจากเป็นการผ่าตัดเล็ก
ขั้นตอนการทำทันตกรรมรากฟันเทียม
ขั้นที่ 1. ทันตแพทย์จะตรวจประเมินผลพร้อมวางแผนการรักษา
ขั้นที่ 2 : ฝังรากฟันเทียม จากนั้นรอประมาณ 2 เดือน เพื่อให้รากฟันเทียมยึดติดกับกระดูก
ขั้นที่ 3 : ใส่ครอบฟันซึ่งจะมีลักษณะและสีเหมือนฟันที่เป็นธรรมชาติ
ในคนไข้บางรายอาจมีความจำเป็นที่จะต้องปลูกกระดูก (Bone Grafts) เพื่อรองรับรากฟันเทียม โดยทันตแพทย์จะประเมินสภาพกระดูกและช่องปากและแจ้งให้ทราบก่อนการฝังรากฟันเทียม
รากฟันเทียม เหมาะสำหรับทุกคนที่สูญเสียฟันไปและอยากจะได้ฟันกลับมาใหม่อย่างเป็นธรรมชาติมากที่สุด
ใช้แทนเนื้อฟัน
ก็คือในกรณีที่ เราเหลือเนื้อฟันน้อยๆไม่ว่าจะจากที่ ฟันผุหรือแตกออกไป แต่ยังไม่ถึงขนาดต้องถอน ก็อุดไม่ไหว หรือ ผ่านรักษารากฟันมาแล้ว ซึ่งก็ผ่านการเจาะรูตรงกลางฟันใหญ่ๆมา เราจะทำ “ครอบฟัน” ใส่ไปเพื่อรักษาเนื้อฟันที่ยังเหลือ
ครอบฟัน
วิธีการทำครอบฟันก้คือการกรอรอบๆฟันซี่ที่เราต้องการจะบูรณะให้เหลือเป็นแกน แล้วนำครอบฟันมาสวมลงไปบนแกนนั้น เพื่อหุ้มเนื้อฟันที่ยังเหลืออยู่ไม่ให้แตกออกจากกัน
ข้อดี
1.ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้ฟันที่เหลือเนื้อฟันน้อยๆ โดยเฉพาะฟันที่ผ่านการรักษารากฟันมา
2.บางกรณีสามารถใช้รักษาฟันที่มีสีผิดปกติได้ด้วย
ข้อเสีย
ต้องกรอเนื้อฟันออกพอสมควร เพื่อทำเป็นแกนฟัน